สรุป การอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193

10 มีนาคม 2568

มาตรา 193 วรรคหนึ่ง

“คดีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ให้อุทธรณ์ไปยัง

ศาลอุทธรณ์ เว้นแต่จะถูกห้ามอุทธรณ์โดยประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น”

 

📌 เนื่องจากการอุทธรณ์เป็นสิทธิ ดังนั้น แม้จำเลยในคดีอาญาจะได้ยื่นคำร้องว่าไม่ขออุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว แต่กลับยื่นอุทธรณ์ในภายหลัง ก็หามีกฎหมายใดที่ตัดสิทธิห้ามอุทธรณ์ ศาลจึงต้องรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้ และแม้จำเลยในคดีอาญายื่นอุทธรณ์เกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้ว เห็นว่ามีเหตุผลสมควรที่จะยืดอายุความอุทธรณ์ให้และสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้ ก็ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย (ฎ.302/2495)

📌 แต่อย่างไรก็ตาม หากเป็นกรณีคู่ความถอนอุทธรณ์โดยอีกฝ่ายหนึ่งมิได้อุทธรณ์ด้วย มีผลทำให้

คำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมเด็ดขาดถึงที่สุดเฉพาะผู้ถอน คำว่า "ย่อมเด็ดขาดเฉพาะผู้ถอน" หมายถึง ผู้อุทธรณ์จะยื่นอุทธรณ์ใหม่ไม่ได้ แม้จะอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ก็ตาม (ถอนแล้วหมดสิทธิอุทธรณ์)


⭐️⭐️ ฎ.2999/2567 ความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 ศาลชั้นต้นปรับคนละ 500 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ (4) จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบา เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวและยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่จำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นผู้ใช้มีดพร้าฟันผู้เสียหายและผู้ตาย ศาลชอบที่จะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยที่ 3 ลดหลั่นจากโทษที่ลงแก่จำเลยที่ 1 ได้

รายการที่ 1 - 1 จาก 1