- หน้าหลัก
- สาระน่ารู้
- เลคเชอร์กฎหมาย
- การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 231
การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 231
#เลคเชอร์กฎหมาย
#รัฐธรรมนูญ #การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
📌ตรวจสอบบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ประกาศใช้บังคับแล้ว หากผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดินก็มีอำนาจเสนอคดีให้ศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 231 (1) เป็นที่น่าสังเกตว่าคดีเกี่ยวกับการตรวจสอบบทบัญญัติแห่งกฎหมายผ่านการเสนอคดีของผู้ตรวจการแผ่นดินนั้นเป็นการตรวจสอบ “เนื้อหา” ของกฎหมายเท่านั้น ไม่สามารถตรวจสอบ “กระบวนการตรา” ของกฎหมายได้ อนึ่ง คำว่า “บทบัญญัติแห่งกฎหมาย” ตามมาตรา 231 (1) ย่อมมีความหมายเป็นอย่างเดียวกับที่ได้อธิบายไปในหัวข้อคดีเกี่ยวกับการตรวจสอบบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีตามมาตรา 212
📌บทบัญญัติมาตรา 213 เป็นกรณีที่รัฐธรรมนูญเปิดช่องให้บุคคลทั่วไปฟ้องคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงได้ว่าการกระทำใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งการยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญนั้นต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 46-48 ด้วย ซึ่งเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ก็คือ “การที่ความคุ้มครองตามมาตรานี้ขยายไปถึงการกระทำนั้น เป็นการเพิ่มความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ด้วยการอุดช่องว่างในกรณีที่ไม่มีอำนาจของศาลใดเข้าไปคุ้มครอง และเพื่อให้ความคุ้มครองไม่เพียงแต่การละเมิดสิทธิและเสรีภาพที่เกิดจากการกระทำของหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานซึ่งใช้อำนาจรัฐ หรือแม้แต่การกระทำของเอกชนก็อยู่ในข่ายที่อาจถูกโต้แย้งว่าเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญได้เช่นกัน ซึ่งได้ให้สิทธิแก่บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง เพื่อมีคำวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่”
#อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ แบ่งปันความรู้ให้เพื่อน ๆ ด้วยนะคะ