สัญญาจำนอง

28 กรกฎาคม 2568

#เลคเชอร์กฎหมาย

#แพ่งและพาณิชย์ #สัญญาจำนอง 


▶️ มาตรา 714 อันสัญญาจำนองนั้น ท่านว่าต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

 

สัญญาจำนองต้องทำตามแบบ หากจำนองไม่ทำตามแบบย่อมเป็นโมฆะ มาตรา 152

 

▶️ ข้อความและรายละเอียดที่จะต้องระบุในสัญญาจำนอง

1.) ต้องระบุทรัพย์สินที่จำนอง (มาตรา 704)

 

2.) ต้องระบุจำนวนเงินจำนอง (มาตรา 708)

✓ 2.1.) ทำสัญญาจำนองระบุเงินไว้ตรงตัวแน่นอนแล้ว ผู้จำนองจะมาขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินจำนองไม่ได้

✓ 2.2.) สัญญาจำนองที่ไม่ได้ระบุจำนวนเงินจำนองให้ถูกต้องตามมาตรา 708 (มีจำนวนเงินระบุไว้เป็นเรือนเงินไทยเป็นจำนวนแน่นอนตรงตัว หรือจำนวนขั้นสูงสุดที่ได้เอาทรัพย์สินจำนองนั้นตราไว้เป็นประกัน) จะเป็นโมฆะ

 

3.) ต้องมีรายละเอียดตามมาตรา 681 (มาตรา 707)

มาตรา 707 กำหนดให้นำมาตรา 681 มาใช้กับการจำนองด้วย ดังนั้นแล้วการจำนองหนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขนั้นตามมาตรา 681 วรรคสอง จะต้องมีการกำหนดไว้ในสัญญาจำนองให้ชัดเจนถึงวัตถุประสงค์ในการก่อหนี้รายที่ค้ำประกัน ลักษณะของมูลหนี้ จำนวนเงินสูงสุดที่ค้ำประกัน และระยะเวลาในการก่อหนี้ที่จะค้ำประกัน เว้นแต่เป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวตามมาตรา 699 และข้อตกลงที่ฝ่าฝืนมาตรา 681 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 685/1 เฉพาะข้อตกลงดังกล่าวเช่นกัน

 

⚠️ ฎ.2260/2562 มาตรา 306 วรรคหนึ่ง บัญญัติเพียงแต่ว่าการโอนสิทธิเรียกร้องจะต้องทำเป็นหนังสือจึงจะสมบูรณ์ หาได้กำหนดบังคับไว้ว่าจะต้องนำความไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องได้ทำตามแบบพิธีการด้วยการทำเป็นหนังสือและบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้เป็นการถูกต้องสมบูรณ์ตามมาตรา 306 วรรคหนึ่งแล้ว ประกอบกับการโอนสิทธิเรียกร้องคือการโอนหนี้ประธานระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ และเมื่อได้โอนสิทธิเรียกร้องหรือโอนหนี้อย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ทำให้สิทธิจำนอง สิทธิจำนำ หรือหลักประกันทางธุรกิจที่มีอยู่เกี่ยวพันกับสิทธิเรียกร้อง สิทธิอันเกิดขึ้นแก่การค้ำประกันที่ได้ไห้ไว้เพื่อสิทธิเรียกร้องย่อมตกไปให้แก่ผู้รับโอนตามมาตรา 306 วรรคหนึ่ง โดยเจ้าหนี้ผู้รับโอนมิพักต้องทำสัญญาจำนอง สัญญาจำนำ กับลูกหนี้เป็นฉบับใหม่อีก สิทธิดังกล่าวก็มีผลใช้บังคับ ระหว่างกันได้ อันแตกต่างไปจากกรณีของการก่อหนี้สัญญาจำนองปกติทั่วไปซึ่งต้องทำตามแบบที่กฎหมาย กำหนดคือต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 714


#อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ แบ่งปันความรู้ให้เพื่อน ๆ ด้วยนะคะ



รายการที่ 1 - 1 จาก 1