- หน้าหลัก
- สาระน่ารู้
- เลคเชอร์กฎหมาย
- "สัญญากู้" มาตรา 653
"สัญญากู้" มาตรา 653
#เลคเชอร์กฎหมาย
#แพ่งและพาณิชย์ #สัญญากู้
▶️ ข้อพิจารณาตามมาตรา 653 พิจารณาแยกออกเป็น 2 กรณี คือ
- วรรคหนึ่ง เป็นกรณี ผู้ให้กู้ >>> พิจารณาเรื่องหลักฐานการกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป
- วรรคสอง เป็นกรณี ผู้กู้ >>> เรื่องหลักฐานการนำสืบการใช้เงิน
▶️ เรื่องหลักฐานการกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท (มาตรา 653 วรรคหนึ่ง)
ที่ว่า “ถ้าไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ
จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้” นั้น หมายความรวมถึง การห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย ดังนี้ ถ้าผู้กู้มอบโฉนดที่ดินให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้ ผู้กู้ฟ้องเรียกโฉนดที่ดินคืนได้ และผู้ให้กู้จะต่อสู้ว่ายึดโฉนดที่ดินไว้เนื่องจากการกู้ยืมเงินไม่ได้
▶️ มีข้อพิจารณาดังนี้
- ถ้าไม่ใช่เรื่องการกู้ยืมเงินกัน แม้จะมีหนี้เป็นเงิน ก็ไม่นำมาตรา 653 วรรคหนึ่ง ใช้บังคับ
- การกู้ยืมเงินน้อยกว่า 2,000 บาทหรือ 2,000 บาท ไม่อยู่ในบังคับมาตรา 653 วรรคหนึ่ง
*****หลักฐานการกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาท ต้องทำอย่างไรจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ มีองค์ประกอบดังนี้
(1) มีหลักฐานเป็นหนังสือ
- ต้องเป็นสิ่งทำให้ปรากฏความหมายด้วยลายลักษณ์อักษรชี้ให้เห็นว่ามีการกู้เงินกัน โดยอาจเป็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ก็ได้
- โดยอาจทำบนกระดาษหรือวัตถุอื่นก็ได้ (พิจารณาคู่กับ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ)
- อาจอยู่ในรูปแบบจดหมาย รายงานการประชุม โน้ตย่อ บันทึกประจำวันตำรวจ ข้อความแสดงการกู้ยืมเงินที่ปรากฏอยู่ในสัญญาต่าง ๆ หรือพินัยกรรมก็ได้ กล่าวคือ ไม่จำต้องทำเป็นรูปแบบสัญญา และไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่ผู้กู้ทำให้แก่ผู้ให้กู้
และไม่จำต้องเป็นเอกสารเพียงฉบับเดียวอาจเป็นเอกสารหลายฉบับที่นำมาสืบประกอบกันได้ เช่น บันทึกการเปรียบเทียบของอำเภอ (ฎ.1567/2499) บันทึกคำให้การและบันทึกคำเบิกความในคดีอาญาใช้และรับฟังเป็นหลักฐานได้ (ฎ.3498/2546) ผู้กู้มิได้ลงชื่อในสัญญากู้ แต่ไปลงชื่อในช่องผู้เขียนในสัญญาค้ำประกัน ซึ่งมีข้อความว่า ตามที่ตนได้กู้ยืมเงินโจทก์ไป 6,000 บาท ถือว่าสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมแล้ว (ฎ.868/2506)
(1.1) ข้อความที่อ่านทำนองแล้วเข้าใจได้ว่า “ผู้กู้ได้รับเงินไปและจะใช้คืน” หรือมีข้อที่มีความหมายแสดงว่ามีหนี้สินต่อกันและมีนิติสัมพันธ์ต่อกันอันจะต้องชำระหนี้ด้วย แม้ไม่มีคำว่า กู้หรือยืมเงินกัน และไม่จำเป็นต้องระบุชื่อผู้ให้กู้ (ฎ.3871/2536, ฎ.1504/2531)
(1.2) หลักฐานดังกล่าวต้องมีการระบุจำนวนเงินที่แน่นอนว่าเป็นหนี้กันเท่าใด* + ลายมือชื่อผู้กู้*
(2) จะต้องลงลายมือชื่อผู้กู้เป็นสำคัญ ไม่จำเป็นต้องมีลายมือชื่อผู้ให้กู้ ไม่จำเป็นต้องมีพยาน เพียงผู้กู้เป็นผู้เขียนด้วยตนเองเพื่อมุ่งหมายให้เป็นลายมือชื่อของตน
#อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ แบ่งปันความรู้ให้เพื่อน ๆ ด้วยนะคะ
-------------