- หน้าหลัก
- สาระน่ารู้
- ชุดภาพหลักกฎหมาย
- สรุปหลักกฎหมาย เรื่อง การชี้ขาดตัดสินคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131
สรุปหลักกฎหมาย เรื่อง การชี้ขาดตัดสินคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131
สรุปหลักกฎหมาย เรื่อง การชี้ขาดตัดสินคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131
🔵เรื่องคำขอ (มาตรา 21)
เช่น คำร้องขอให้โอนคดีไปยังศาลอื่นที่มีเขตอำนาจ ตามมาตรา 6 , คำร้องย่นหรือขยายระยะเวลาตามมาตรา 23 , ร้องขอให้พิจารณาคดีรวมกัน มาตรา 28 , คำร้องขอเข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะ มาตรา 43 เป็นต้น
📍หากคู่ความยื่นมาในระหว่างพิจารณา ศาลมีหน้าที่ต้องสั่งคำขอดังกล่าว โดยอาจสั่งอนุญาตหรือยกคำขอนั้น ตามที่มาตรา 131 (1) บัญญัติไว้ แต่มีคำขอบางอย่างเป็นการขอศาลมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหมายบัญญัติ มิใช่เพียงแต่มีคำสั่งอนุญาตหรือยกคำขอเท่านั้น เช่น เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตามมาตรา 27, คำขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ ตามมาตรา 42, คำขอให้ศาลมีคำสั่งแก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่ง ตามมาตรา 143 เป็นต้น
📍สำหรับวิธีการสั่ง มีอยู่ 2 แบบ คือ สั่งเป็นหนังสือด้วยการเกษียณสั่งที่ตัวคำร้องของผู้ร้อง กับสั่งโดยจดคำสั่งไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา
🔵 เรื่องประเด็นแห่งคดี
📍ในเรื่องของประเด็นแห่งคดี มาตรา 131 (2) ให้ศาลทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่ง หรือจำหน่ายคดีจากสารบบความ รูปแบบของคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลก็ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 141 ส่วนการจำหน่ายคดีต้องมีเหตุที่จะจำหน่ายคดีได้ตาม มาตรา 132