สรุปหลักกฎหมาย เรื่อง ความผิดซึ่งหน้า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 80

21 มกราคม 2568

สรุปหลักกฎหมาย เรื่อง ความผิดซึ่งหน้า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 80


🔴มาตรา 80 วรรคหนึ่ง ความผิดซึ่งหน้า มี 2 เหตุ คือ

  1. เห็นกำลังกระทำ หรือ

  2. พบในอาการซึ่งแทบจะไม่สงสัยเลยว่าได้กระทำผิดมาแล้วสด ๆ 

**ใช้กับความผิดอาญาทุกประเภท**

📌1.) เห็นกำลังกระทำ (เห็นขณะลงมือ) หมายความว่า เจ้าพนักงานเห็นผู้ร้ายในขณะที่กำลังมีการลงมือกระทำความผิด ไม่ว่าจะเป็นการพบโดยบังเอิญ หรือวางแผนเพื่อพบการกระทำความผิดนั้น ๆ ก็ตาม โดยความผิดซึ่งหน้าซึ่งเห็นกำลังกระทำนั้นต้องได้ความว่าเป็นความผิดเกิดซึ่งหน้าผู้จับ หากเป็นความผิดซึ่งหน้าผู้อื่น ผู้ซึ่งได้รับแจ้งจากผู้อื่นว่ามีความผิดเกิดขึ้น ไม่อยู่ในความหมายนี้

📌2.) พบบุคคลในอาการซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำผิดมาแล้วแบบสด ๆ (เห็นภายหลังการกระทำความผิดสิ้นสุดลงแล้ว) หมายความว่า ผู้จับไม่ได้เห็นการกระทำความผิดขณะผู้ถูกจับกำลังกระทำ แต่ใช้การอนุมานอย่างวิญญูชนว่าเหตุการณ์ที่ผู้จับเห็นอยู่นั้น เมื่อสักครู่ที่ผ่านมามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ไม่มีความสงสัยเลย


🔴มาตรา 80 วรรคสอง ให้ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า มี 2 เหตุ คือ

  1. เมื่อถูกไล่จับดังผู้กระทำโดยมีเสียงร้องเอะอะ 

  2. เมื่อพบแทบจะทันทีทันใดหลังจากการกระทำผิดในถิ่นแถวใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุ และมีสิ่งของที่ได้มาจากการกระทำผิด หรือมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสันนิษฐานได้ว่าได้ใช้ในการกระทำผิด หรือมีร่องรอยพิรุธเห็นประจักษ์ที่เสื้อผ้า หรือเนื้อตัวของผู้นั้น

  **ใช้กับความผิดอาญาดังระบุในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้

รายการที่ 1 - 9 จาก 9