สรุปหลักกฎหมาย เรื่อง เขตอำนาจสอบสวน (ความผิดเกี่ยวพันกันหลายท้องที่) ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19

10 ธันวาคม 2567

สรุปหลักกฎหมาย เรื่อง เขตอำนาจสอบสวน (ความผิดเกี่ยวพันกันหลายท้องที่) ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19


🔵 มาตรา 19 (1) เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่

📌ความผิดเกิดในทะเลอาณาเขต ซึ่งไม่มีเครื่องหมายบ่งชี้เขตแดนชัดเจน ทุกท้องที่ที่อยู่ติดทะเลมีอำนาจสอบสวน

📌ในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ โดยหลัก ถือว่าความผิดเกิดในท้องที่ที่ปรากฏการกระทำที่เป็นการเบียดบัง (ดังที่กล่าวมาแล้วในมาตรา 18)

แต่หากไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจำเลยมีเจตนาเบียดบังในสถานที่ใด กรณีต้องปรับมาตรา 19 (1)


🔵 มาตรา 19 (2) เมื่อความผิดส่วนหนึ่งกระทำในท้องที่หนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งในอีกท้องที่หนึ่ง

📌เป็นกรณีความผิดกรรมเดียว แต่ละส่วนเกิดขึ้นต่างท้องที่


🔵 มาตรา 19 (3) เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป


🔵 มาตรา 19 (4) เมื่อเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน

📌ลักษณะสำคัญของคดีตามมาตรา 19 (4) แตกต่างจากคดีตามมาตรา 19 (2) อยู่ตรงที่ว่าคดีตามมาตรา 19 (2) เป็นความผิดกรรมเดียว (เจตนาเดียว) แต่ผู้กระทำความผิดได้แยกกระทำความผิดส่วนหนึ่งในท้องที่หนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งในอีกท้องที่หนึ่ง


🔵 มาตรา 19 (5) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้ต้องหากำลังเดินทาง


🔵 มาตรา 19 (6) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้เสียหายกำลังเดินทาง


🔵อำนาจสอบสวน

📌พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้


🔵พนักงานสอบสวนต่อไปนี้ เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวน

▶️ (ก) ถ้าจับผู้ต้องหาได้แล้ว คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจ

▶️ (ข) ถ้าจับผู้ต้องหายังไม่ได้ คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจ

รายการที่ 1 - 12 จาก 12